Occupational Road Safety ในสหรัฐอเมริกา

เผยแพร่เมื่อ:  28/12/2562....,

เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา, นายกสมาคมฯ...,

 

ว่าด้วย Occupational Road Safety ในสหรัฐอเมริกา แล้วดูไทยว่าเป็นอย่างไร?

 ก. การประสบอันตรายในสหรัฐอเมริกา ยังไม่ดีอย่างที่คิด

แม้ว่า OSHA จะเพิ่มจำนวนการตรวจความปลอดภัย และมีโครงการใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเฉพาะแล้วก็ตาม วัดได้จากข้อมูลปี 2018 พบว่ามีลูกจ้างเสียชีวิต 5,250 ราย (เพิ่มจากปี 2017 ที่ตัวเลขอยู่ที่ 5,147 ราย ทำให้อัตราการเสียชีวิตจึงยังคงอยู่ที่ 3.5 per 100,000 full-time equivalent (FTE) (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแรงงาน BLS)

ข. กิจการขนส่งคือสปก.ที่ทำให้สถิติสูง

เพราะ 40% ของผู้เสียชีวิตคือคนที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ โดยในปี 2018 มีคนขับเสียชีวิตไปถึง 2,080 คน ในจำนวนนี้พบว่า คนขับ/พนักงานขาย และคนขับรถบรรทุก เป็นอาชีพที่เสียชีวิตมากที่สุด สูงถึง 966 ราย

ค. แล้วยังไงต่อ

คนในวงการเขามีความเห็นว่า

1) National Safety Council (NSC) บอกว่า ตัวเลขสะท้อนว่าเรา (สหรัฐอเมริกา) ยังทำเรื่องความปลอดภัยไม่เพียงพอ / เราอย่าไปคิดว่าเรื่องความปลอดภัยคือค่าใช้จ่ายของธุรกิจเรา (อันนี้สุดยอดเลย- อ.สราวุธ)

แล้ว NSC ก็บอกต่อ (ในเรื่องที่พวกเราในเมืองไทยก็พยายามบอกต่อเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่มีการตอบสนอง) ว่า (อ่านต้นฉบับเลยนะครับ ชัดเจนดี) “Employers need to take a systematic approach to safety that includes having policies, training and risk assessment techniques in place to address major causes of fatalities and injuries. Leadership needs to set the tone from the top and engage all workers in safety, identify hazards and measure safety performance using leading indicators to continuously improve.”  นี้คือเราต้องมี Road Safety Management Systems ครับ (โดยอิงกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้เลย)

2) น่าสนใจมาก ๆ ก็คือคุณ Christopher Turner, director of crash and data programs for the Commercial Vehicle Safety Alliance (CVSA) นำผลประเมินการประสบเหตุข้างต้นมาแสดงได้น่าสนใจมากว่าส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น showed most crashes ไม่ได้เกิดจากตัวคนขับ (not caused by the commercial motor vehicle driver) เท่านั้น แต่มาจากการใช้สารเสพติด (Substance abuse) เสียสมาธิจากโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (distractions from phones and electronic devices) การเพิ่มลิมิตของความเร็ว (an increase in speed limits) และ จำนวนระยะทางที่ขับขี่ (vehicle miles traveled) อีกด้วย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยมาตรการที่รอบด้านและบูรณาการ (comprehensive multi-disciplinary approaches) ลองฟังเขาพูดนะครับ

“Because of the diversity of factors resulting in the increase, FMCSA, CVSA, our members, and partner association have worked to develop comprehensive multi-disciplinary approaches to reduce crashes and fatalities,”

แต่อ่านตรงนี้ก็งงอยู่ว่าทำไมมาเน้นเรื่อง Drug Recognition Experts (DREs) อ่านต่อนะครับ

....... The CVSA has worked with the National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) and state legislators to increase the number of drug recognition experts (DREs) across the nation.

“The Federal Motor Carrier Safety Administration (FMCSA), recognizing the importance of this effort, allows states to utilize FMCSA funding to increase the number of DREs in each state, and then deploy the DRE strategically during enforcement campaigns. States work to reduce the number of distracted drivers through both educational and enforcement efforts.”

3) American Society of Safety Professionals (ASSP) เสนอแนะให้ทำระบบการจัดการ Safety Management Systems ซึ่งมี ISO 45001 ให้นำไปใช้พัฒนาในองค์กรอยู่แล้วในปัจจุบัน คุณ Stegall นายกสมาคม ASSP กล่าวว่า

“Strong workplace cultures that bring together management and employees while including safety and health climates must become a priority for all companies and organizations,” Stegall said. “ASSP will continue to push for better protection of workers to ensure that everyone returns home safe to their families every day.”

ง. สำหรับในประเทศไทย

ต้องยอมรับว่า กระทรวงแรงงานยังไม่ให้ความสำคัญกับงาน Occupational Road Safety เลย แม้ว่ายานพาหนะจะเป็นสาเหตุใหญ่ของการเสียชีวิตของลูกจ้างมาตลอดหลายสิบปี แต่ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ. และสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.) ก็จะไม่ละความพยายามที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้ต่อไป

ปลายปีที่แล้ว ศวปถ./ วส.มสธ./ ขบ./ ปตท./ SHELL/ SCG ลงนาม MOU เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนสำหรับสถานประกอบกิจการขนส่ง

และขณะนี้ สอป.กำลังจะปรึกษาหารือกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)​ ที่จะมาร่วมผลักดันงาน Occupational Road Safety และ ISO 39001 ขณะนี้นัดหมายคุยกันเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ปลายมกราคม 63

ก็หวังว่าภาคเอกชนร่วมกันทำงาน จะเป็นแรงผลักดันให้ทางการเข้ามารับผิดชอบงาน Occupational Road Safety ของประเทศไทยต่อไป

 

#สอป

Visitors: 361,620