How to be Great Speaker Series EP.3

เผยแพร่เมื่อ: 18/07/2563....,
เขียนโดย คุณสิทธิ์ระพี ช้างหมื่นไวย
“ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน สังกัดสำนักความยั่งยืนองค์กร ธุรกิจอาหารสัตว์บก
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)”

“Learning Process Design of Occupational Health and Safety”

 

ความสำคัญในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

            จำเป็นจะต้องคำนึงถึง เป้าหมายหรือสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ ว่าความต้องการของเรา อยากให้พนักงานได้ความรู้ ปฏิบัติได้ หรือปรับทัศนคติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่งที่จะทำการอบรม เรียนรู้ มีประสิทธิภาพ และได้ผลตอบรับที่ดียิ่งขึ้น กระบวนการเรียนรู้ Learning Process การออกแบบกระบวนการหรือขั้นตอนระหว่างการอบรมหรือบรรยายนั้นก็เป็นส่วนสำคัญยิ่งเช่นกันเราควรคำนึงถึงว่ากระบวนการนี้จะตอบโจทย์ผู้ที่เข้าร่วมรับฟังอย่างไรไม่ว่าจะเป็นหัวข้อและรายละเอียดสำหรับองค์ความรู้ที่อยากจะให้หรือเวิร์คช็อปหรือการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของจริงหรือการออกแบบอุปกรณ์หรือตัวอย่างให้เกิดการรู้จริง เห็นจริง เจ็บจริง และสิ่งที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงตลอดเวลาขณะที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้นั้น คือ KPA’s (Knowledge Practice  Attitude)

          ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เราออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้รับฟังอย่างครบถ้วนตามเป้าหมาย ให้ผู้เรียนได้เกิดการสัมผัสการอธิบาย ให้ผู้เรียนได้มีกระบวนการเปลี่ยนการสัมผัสปรับเพื่อเกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนแปลผลวิเคราะห์รวบรวมยอดรวมถึงเกิดการตอบสนองในพฤติกรรมต่างๆขณะเรียนรู้หรือหลังจากที่เรียนรู้และซึ่งกระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้ คือ

     1. มีสิ่งเร้า (Stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (Organism)
     2. อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส (Sensation) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
     3. ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ (Perception)
     4. สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด (Conception)
     5. พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ (Learning)
     6. เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง (Response) พฤติกรรมนั้นๆ

 

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ด้านความปลอดภัย

หัวข้อหรือชื่อเรื่อง

          ควรตั้งชื่อเรื่องให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมาย ควรตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเป้าหมายอะไรได้ทันที อย่าตั้งชื่อเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง ควรตั้งชื่อเรื่องโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงรายละเอียด เป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น

หลักการและเหตุผล

          หลักการและเหตุผล เป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงปัญหาความจำเป็นหรือความต้องการที่ต้องมีการอบรมเพื่อได้ความรู้เรื่องความปลอดภัย เรียนรู้เพื่อปฏิบัติอย่างไร เรียนรู้เพื่อปรับทัศนคติ หรือสนองความต้องการขององค์กร ความต้องการด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นในการเขียนหลักการและเหตุผลผู้เขียนโครงการจำเป็นต้องเขียนแสดงให้เห็นถึงปัญหาหรือความต้องการ พร้อมทั้งระบุเหตุผลและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำหลักสูตรอย่างชัดเจน นอกจากนี้อาจต้องเชื่อมโยงให้เห็นว่าการอบรมนี้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์ หรือนโยบายขององค์กรหรือหน่วยงานเจ้าของหลักสูตร หรือหน่วยงานความปลอดภัยและเป็นการวางรากฐานไปสู่สภาพแวดล้อม ทัศนคติ แนวคิดที่ปลอดภัย ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ต้องพยายามหาเหตุผล หลักการ และทฤษฎีต่างๆ สนับสนุนการอบรมที่จัดทำขึ้นอย่างสมเหตุสมผล ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงาน หรือผู้เข้ารับการเรียนรู้ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนให้หน่วยงานที่จัดการเรียนรู้ได้ประโยชน์สูงสุด

ที่มาและความสำคัญ

          การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการอบรม โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการอบรมโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้

     1. เขียนให้ตรงประเด็นเหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการอบรม และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะอบรม
     2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำกาอบรม
     3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ

วัตถุประสงค์

          วัตถุประสงค์ Objective การคิดวัตถุประสงค์คงจะต้องบอกได้เลยว่าผู้ที่ฟังนั้นจะต้องได้รับความรู้ (Knowledge) จากการรับฟังอาจจะเป็นการอบรมความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และหากจะให้ผู้เข้ารับฟังปฏิบัติได้หรือทำเป็นเลย (Practice) เช่น การอบรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมือ ควรจะต้องมีการฝึกปฏิบัติ หรือทำเวิร์คช็อปให้ได้ผลตามที่ต้องการ และหากจะให้ผู้เข้ารับฟังเกิดทัศนคติที่ดี (Attitude) หากใช้การอบรมเพียง 3 ชั่วโมงหรือ 6 ชั่วโมงและไม่มีการฝึกปฏิบัติก็จะเป็นเรื่องยากที่จะให้ทราบถึงอันตรายหรือความกระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดี

เป้าหมาย และระยะเวลาการเรียนรู้

          เป้าหมายที่ดีเป็นอย่างไร SMART Goal อยู่แล้วข้ามส่วนนี้ไปก่อนได้เลยครับ ส่วนใครยังไม่รู้จักมาดูกันว่าเป้าหมายที่ดีหน้าตาเป็นอย่างไร

  • Specific เป้าหมายนั้นต้องเจาะจง บ่งบอกถึงรายละเอียดการกระทำที่จะเกิดขึ้น
  • Measurable ต้องวัดผลได้ชัดเจน เพื่อบอกให้เรารู้ได้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นใกล้เคียงกับหน่วยวัดผลที่เราตั้งไว้ไหม
  • Attainable มันต้องทำได้จริง ไม่ใช่การตั้งเป้าที่เวอร์เกินไป เป้าที่ดีเราจะมีกำลังใจเพื่อให้สำเร็จได้ในที่สุด
  • Relevant เป้าหมายต้องเกี่ยวข้องกับหลักสูตรของเรา สมเหตุสมผล สอดคล้องกับพฤติกรรมในอดีตที่ผ่านมาของพนักงานที่เป็นเป้าหมาย
  • Time Bound มีกรอบเวลากำหนดที่ชัดเจน ว่าเป้าหมายของเราจะบรรลุผล

หัวข้อการเรียนรู้

          กระบวนการหรือการตั้งหัวข้อการเรียนรู้เราควรออกแบบกระบวนการหรือที่เรียกว่าการทำ workshop ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานดึงดูดหรือกระตุ้นให้เกิดความคิดให้เห็นลักษณะที่แสดงได้ถึงความตระหนัก เพื่อให้พนักงานหรือผู้ที่เข้าอบรมได้ทราบถึงอันตรายหรือความเสี่ยง อาทิ การออกแบบห้องอบรมโดยเฉพาะ การออกแบบสถานีงานเพื่อให้ทดลองการใช้งานสัมผัสความเสี่ยงจริงทั้งนี้ควรมีวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงว่าขนาดการเรียนรู้ควรเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้หรือ workshop นั้นอาจจะออกแบบได้ทั้งการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีหรือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติขึ้นอยู่กับความต้องการหรือเป้าหมายของหลักสูตรที่เราเขียนไว้ยกตัวอย่าง เช่น

การอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ

  • ในหัวข้อในการอบรมผู้อนุญาตควรจะต้องให้ความรู้แก่ผู้อนุญาตในหัวข้อที่ครอบคลุมถึงกระบวนการทำงานในที่อับอากาศ
  • ในหัวข้อผู้ปฏิบัติงานควรออกแบบให้ทดลองลงปฏิบัติจริงเพื่อให้ทราบถึงอันตรายและฝึกปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ
  • ในหัวข้อผู้ช่วยเหลือควรออกแบบให้ทดลองปฏิบัติในพื้นที่หรือลักษณะหน้างานแตกต่างกันออกไป

การอบรมความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมี

  • หัวข้อเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีควรจะต้องออกแบบถึงการทำปฏิกิริยาและแสดงให้เห็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่เคมีนั้นจะทำลายก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายต่อร่างกาย
  • หัวข้อเกี่ยวกับการสื่อสารสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีควรต้องออกแบบถึงการมองเห็นการเข้าถึงหรือการทบทวนเพื่อที่จะเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย
  • หัวข้อเกี่ยวกับการจัดเก็บสารเคมีควรจะต้องออกแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นมาตรฐานการจัดเก็บ ลักษณะความเป็นสารเคมี ลักษณะบรรจุภัณฑ์ของสารเคมี ลักษณะทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นสารเคมีที่เป็นของเหลว สารเคมีที่เป็นเม็ด ลักษณะต่างๆที่มีความสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

การอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับที่สูง

  • หัวข้อเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องจักรที่เกี่ยวกับอันตรายจากที่สูงควรออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ทราบถึงความแข็งแรงของโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการติดตั้งแสดงถึงความแข็งแรงและพร้อมใช้งาน
  • หัวข้อเกี่ยวกับอันตรายตกจากที่สูงควรจะต้องออกแบบให้ทดลองจากสภาพหน้างานที่มีลักษณะที่อาจจะก่อให้เกิดการตก เพื่อให้พนักงานหรือผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รู้ ถึงความน่ากลัว เมื่อเกิดทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัย
  • หัวข้อเกี่ยวกับอุปกรณ์ยับยั้งการตกหรือุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงควรออกแบบลักษณะการเรียนการสอนให้ปฏิบัติงานจริงได้เรียนรู้การสวมใส่จริง ทราบถึงการสวมใส่ที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องความรวดเร็วรวมถึงความสะดวกสบายขณะปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย

          จากที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงหัวข้อการฝึกอบรมและรูปแบบการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีอีกหัวข้อหลากหลายที่ยังให้ผู้อ่านอาจจะลองคิดหรือลองออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ผู้เขียนเองคิดว่าท่านคงมีหัวข้อในใจท่านลองออกแบบหรือหากติดปัญหาเอามาแชร์กับผู้เขียนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้หัวข้อและหลักสูตรของท่านอาจจะเผยแพร่และสื่อสารให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติใช้

 การประเมินผล

          การประเมินผลและการสำรวจผล Evaluate ในส่วนนี้จะทำให้ทั้งผู้เข้ารับฟังและผู้บรรยายหรือวิทยากรอย่างเราทราบถึงระดับของการอบรมบรรยายว่าควรต้องปรับแก้หรือพัฒนาในส่วนใด และอาจจะทำให้เราทราบว่าสิ่งที่ดำเนินไปนั้นผู้เข้ารับฟังได้ตามความตั้งใจหรือเปล่าเราผิดพลาดหรือจัดการขั้นตอนใดไม่ครบถ้วน ซึ่งกระบวนการประเมินก็มีหลากหลายรูปแบบเราควรจะคำนึงถึง หากเป็นการบรรยายเพื่อให้ได้รับองค์ความรู้ (Knowledge) ก็คงจะต้องเป็นการทำบททดสอบว่าตอบถูกมากน้อยเพียงใด หากเป็นการบรรยายเพื่อให้ปฏิบัติเป็นทำได้ (Practice) ก็ควรจะให้ทดลองหรือจับเวลาในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลว่าสวมใส่ถูกต้องและทันเวลาหรือไม่ หากเป็นการทดสอบทัศนคติ (Attitude) จากการบรรยายควรประเมินจากพฤติกรรมการปฎิบัติงานซึ่งส่วนการประเมินนี้คงต้องใช้เวลาและร่วมมือกับหัวหน้างานเพื่อบันทึกจะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินด้านทัศนคติและพฤติกรรม คือ BBS นั้นเอง ว้าวเลยใช่ไหมครับผมสำหรับการเชื่อมโยงที่จะผมยกตัวอย่างและเพื่อให้เข้าใจง่ายผมได้ออกแบบภาพตัวอย่างดังนี้ครับ

การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

          การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรหรือรูปแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาการเรียนการสอนด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย จากที่กล่าวนี้หากเรามีการทบทวนและประเมินผลทุกครั้งในการอบรมหรือให้ความรู้และทราบถึงความเสี่ยงที่อาจจะพัฒนาจากพฤติกรรม ความเสี่ยงที่อาจจะพัฒนาจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ท่านผู้อ่านคงจะอยู่ในยุคปัจจุบันไหนว่าจะสถานประกอบการในประเทศไทยปัจจุบันนี้ก็มีนโยบายให้นำเทคโนโลยีและกระบวนการทางดิจิตอลเข้ามาใช้งานเพื่อความสะดวกสบายลดต้นทุนด้านแรงงาน แต่ลืมพื้นฐานด้านความปลอดภัย การส่งเสริมงานด้านความปลอดภัย การรณรงค์ด้านความปลอดภัยการสร้างทัศนคติโดยวิธีการให้ความรู้และอบรม เรานำเทคโนโลยีมาใช้แล้วลืมพื้นฐานในการรณรงค์และให้ความรู้นี้การกระทำที่ไม่ปลอดภัยนั่นคือสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

www.ipuresafe.com

Visitors: 369,012