ขอเชิญสมาชิก ส.อ.ป. เข้าชมการอบรมย้อนหลัง

โดย สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ร่วมกับ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ. 

 

ขอเชิญสมาชิก ส.อ.ป. เข้าชมการอบรมเรื่อง

เทคนิคการสื่อสารความเสี่ยงยุคโควิด-19 ย้อนหลัง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สอป. ได้นำเสนอเรื่องที่ปรากฎทางสื่อมวลชนที่สะท้อนว่าโรงงานล้มเหลวในเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงกับลูกจ้าง ถึงขนาดลูกจ้างนำไปร้องเรียนทางสื่อสาธารณะ จนทางการและนักการเมืองต้องเข้ามาจัดการ ผลคือโรงงานที่มีมาตรการและดำเนินการในระดับทางยอดรับได้ ต้องถูกสั่งปิด และอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวกับโควิดที่สะท้อนความล้มเหลวดังกล่าว

หรือกรณีเกิดการระเบิด ไฟไหม้ของสารเคมีเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือเมื่อเกิดการรั่วไหลสารเคมี บ่อยครั้งที่เราอ่านพบข่าวหรือได้ยินในเวทีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนต่อร่างรายงาน EIA ว่าชาวบ้านบ่นไม่รู้เรื่องเลยว่าอะไรเกิดขึ้น จะต้องทำตัวอย่างไร จะเก็บของจำเป็นอพยพดีไหม ได้ยินแต่สัญญาณหวูดว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น ฯลฯ

ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า เรา จป.และคนวงการ HSE ซึ่งเป็นหนึ่งจิกซอร์สำคัญในโรงงาน ต้องเข้ามาจริงจังกับเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงแล้ว

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรนา -19 เป็น Hazard ที่จป.วิชาชีพต้องประเมินความเสี่ยงได้ ประเมินแล้วก็ต้องสื่อสารและจัดการความเสี่ยงได้

กฎหมายความปลอดภัยแรงงานกำหนดให้จป.วิชาชีพต้องทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยง และไปทบทวนดูกฎหมายได้ จะพบว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เรื่องการทำงานที่อันตราย ฯลฯ เป็นเรื่องที่โรงงานต้องสื่อสารความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง

สอป. และวส. มสธ. ได้ปรึกษาวิทยากรทั้งสองท่าน คืออาจารย์วิยะดา วรธนานันท์ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มสธ. ที่ฝากชื่อเสียงและเป็นที่พึงพอใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก เมื่อคราวมาเป็นวิทยากรหลักสูตรเทคนิคการเป็นวิทยากร และเป็นคนที่ทำงานด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรมาทั้งชีวิต และอาจารย์ ดร.วรวิช นาคแป้น อาจารย์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ. ซึ่งศึกษามาทางด้าน IH & Risk Control จากสหรัฐอเมริกา ถึงเรื่องการพัฒนาหลักสูตรนี้ให้ตอบโจทย์ความล้มเหลวของการสื่อสารที่ผ่านมา จนตกผลึกในหลักสูตรนี้ที่จะเป็นกิจกรรมวิชาการในโอกาสครบ 40 ปีของวส.ด้วย

จุดเด่นของหลักสูตรนี้ที่พวกเราจะพบจากวิทยากรทั้งสองท่าน คือ

1. ศาสตร์ของการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เราสามารถสื่อสารเรื่องอะไรก็ได้ นี้คือคันเบ็ดที่เราใช้จับปลาในแหล่งน้ำใดก็ได้
2. ศาสตร์เฉพาะด้าน Risk Communication ที่พวกเราจะได้องค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการระเบิด ไฟไหม้ หรือสารเคมีรั่วไหลก็ตาม จังหวะและเนื้อหาการสื่อสารทั้งก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และภายหลังเมื่อเหตุสงบลงแล้ว จะนำเสนอให้เห็นภาพการทำงานเหล่านี้
3. ตัวอย่างการประยุกต์ศาสตร์ทั้งสองข้างต้น ซึ่งวิทยากรจะสอดแทรก ยกตัวอย่างมาประกอบในศาสตร์ที่นำเสนอ พร้อมนำกรณีศึกษามาวิเคราะห์ให้เห็นถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

หมายเหตุ - ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงกับสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มทส. ที่ให้ความอนุเคราะห์ระบบ zoom สำหรับการจัดงานในครั้งนี้

 Link เข้าชมย้อนหลัง สำหรับสมาชิก ส.อ.ป. เท่านั้น >> คลิ๊ก !!<<

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่ >> คลิ๊ก !! <<

แนะนำขั้นตอนการสมัครสมาชิก >> คลิ๊ก !! <<

 

#โครงการสอป_อาสา
#โครงการเพื่อนพี่เลี้ยง_วส_มสธ
#40ปีวส

Visitors: 367,198